ป้องกันอาหารเป็นพิษในวันแข่ง

กี่ครั้งแล้วที่เราพบเจออาหารไม่ดีที่ทำให้เกิดอาการวิงเวียน คลื่นไส้ หรือท้องเสีย? ส่วนใหญ่แล้วเป็นเพราะว่าเราไม่รู้เกี่ยวกับอาหารที่เราทานเข้าไปมากพอว่า

  • มันผลิตขึ้นมาอย่างไร
  • ถูกหยิบจับอย่างไร
  • เตรียมการปรุงอย่างไร
  • ปรุงอาหารอย่างไร

นักกีฬาอย่างเราๆ นั้นฝึกฝนมาอย่างหนักเพื่อที่จะทำผลงานให้ดีที่สุดในการแข่งเป้าหมาย สิ่งสุดท้ายที่คุณไม่อยากให้เกิดขึ้นเลยก็คืออาการท้องไม่ดีในวันแข่ง ซึ่งในช่วงที่ร่างกายฝึกซ้อมมาจนถึงจุดสูงสุดนั้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะมีโอกาสลดลงได้ ทำให้แม้ว่าอาหารที่อ่อนๆ ก็อาจทำให้เกิดอาหารเป็นพิษได้เช่นเดียวกัน

 

 

อาหารเป็นพิษ เกิดจากการรับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนของเชื้อโรค รวมไปถึงพวกแบคทีเรีย ไวรัส และปรสิต หรือพิษของมัน เป็นสาเหตุที่พบได้ทั่วไปของการเกิดอาการอาหารเป็นพิษ

เชื้อโรค หรือพิษจากมัน สามารถเข้าปนเปื้อนอาหารได้ในทุกกระบวนการผลิต การปนเปื้อนนั้นยังอาจเกิดได้ที่บ้านของคุณหากคุณหยิบจับอาหารอย่างผิดวิธีหรือปรุงอย่างไม่ถูกต้อง

 

 

อาการ

อาการของอาหารเป็นพิษนั้นแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของสิ่งที่ปนเปื้อน อาการส่วนใหญ่ที่มักจะเป็นนั้นมีมากกว่าหนึ่งอาการที่มีสัญญานต่อไปนี้

  • เวียนศีรษะ
  • คลื่นไส้
  • ถ่ายเป็นน้ำหรือเป็นเลือด
  • ปวดเกร็งช่องท้องและเป็นตะคริว
  • มีไข้

 

 

สาเหตุ

การปนเปื้อนในอาหารเกิดขึ้นได้ในทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิตตั้งแต่ การปลูก การเก็บเกี่ยว การแปรรูป การเก็บรักษา การขนส่ง หรือการเตรียมอาหาร การถ่ายเทของสารปนเปื้อนจากพื้นผิวหนึ่งไปสู่อีกพื้นผิวหนึ่งก็เป็นไปได้อยู่บ่อยๆ บางบริษัทอย่าง CP นั้นมีการควบคุมกระบวนการผลิตอย่างเคร่งครัดตั้งแต่ต้นจนจบ เริ่มจากกระบวนการปลูก การผลิต ไปจนถึงการปรุงและการบรรจุลงบรรจุภัณฑ์ การควบคุมอุณหภูมิตลอดระยะทางไปจนถึงหน้าชั้นวาง ทำให้เราต้องมาหวนคิดว่า “ความสดใหม่” หรืออาหารที่ปรุงจากร้านอาหารนั้นดีต่อสุขภาพมากกว่าอาหารที่แพ็คบรรจุเรียบร้อยจริงหรือ นั่นอาจจะจริงในบางประเทศ แต่สำหรับในประเทศไทย เนื่องด้วยมาตรการในการควบคุมการผลิตอาหารและการตรวจสอบอนามัยนั้นมีน้อย ทำให้ข้อเท็จจริงที่ว่าอาหารที่บรรจุไว้แล้วมักมีความปลอดภัยมากกว่า

ถ้าคุณรับประทานอาหารตามริมถนน ส่วนใหญ่แล้วอาหารไม่ได้ถูกหยิบจับและปรุงอย่างถูกต้องและมีโอกาสสูงที่คุณจะมีอาการป่วยหลังจากนั้น

 

 

แบคทีเรียจำนวนมาก ไวรัส หรือแม้แต่ส่วนประกอบของพลาสติกก็ทำให้เกิดอาหารเป็นพิษได้ ตารางด้านล่างนี้แสดงความเป็นไปได้ของสิ่งปนเปื้อน และระยะเวลาของการแพร่กระจายตัวของเชื้อ

 

กลุ่มเสี่ยง

แม้ว่าอาการป่วยหลังจากทานอาหารที่ปนเปื้อนเข้าไป ขึ้นอยู่กับปริมาณที่คุณได้รับ อายุ และสุขภาพ กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอาการเหล่านี้ยังรวมถึง

  • กลุ่มผู้สูงอายุเมื่อคุณอายุเพิ่มขึ้น ระบบภูมิคุ้มกันอาจจะไม่ตอบสนองได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพต่อเชื้อโรคต่างๆ ได้เหมือนเมื่อคุณอายุน้อย
  • กลุ่มสตรีมีครรภ์ ขณะตั้งครรภ์ ระบบการเผลาผลาญและการไหลเวียนอาจจะเพิ่มความเสี่ยงกับอาการอาหารเป็นพิษได้ง่ายขึ้น การตอบสนองของร่างกายอาจจะรุนแรงกว่าในช่วงที่กำลังตั้งครรภ์ มีโอกาสน้อยมากที่ลูกอาจจะป่วยได้ด้วยเหมือนกัน
  • เด็กทารกและเด็กเล็ก เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันยังไม่พัฒนาเต็มที่
  • กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง การมีโรคเรื้อรัง อย่างเช่น เบาหวาน โรคตับ หรือ เอดส์ หรือการได้รับเคมีบำบัดหรือการฉายแสงสำหรับการรักษาโรคมะเร็ง มีผลต่อการลดระบบภูมิคุ้มกันให้ต่ำลง

 

อาการแทรกซ้อน

อาการแทรกซ้อนที่พบประจำคือ อาการขาดน้ำ นั่นคือ การสูญเสียน้ำและเกลือแร่ แร่ธาตุที่สำคัญอย่างรุนแรง ถ้าคุณเป็นผู้ใหญ่ที่มีการดื่มน้ำเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ ปริมาณน้ำที่มีในร่างกายจะไปชดเชยการสูญเสียน้ำจากการอาเจียนและการท้องเสีย ก็จะไม่เกิดอาการขาดน้ำ

ทารก และผู้สูงอายุ และกลุ่มคนที่มีระบบภูมิคุ้มกันต่ำหรือกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง อาจจะมีอาการขาดน้ำอย่างรุนแรงเมื่อสูญเสียน้ำจนร่างกายไม่สามารถทดแทนได้ทัน ในกรณีเช่นนี้ อาจจต้องการการดูแลจากโรงพยาบาลคือการรับน้ำเกลือเข้าเส้น ในกรณีร้ายแรงก็อาจเสียชีวิตได้

 

 

การป้องกัน

การป้องกันอาหารเป็นพิษที่บ้าน

  • ล้างมืออุปกรณ์ทำครัวและพื้นผิวของอาหารบ่อยๆ ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำสบู่อุ่นก่อนและหลังการหยิบจับและเตรียมอาหาร ใช้น้ำสบู่ร้อนล้างอุปกรณ์เครื่องครัว เขียง และพื้นผิวสัมผัสที่ใช้งาน
  • เก็บรักษาอาหารดิบแยกจากอาหารพร้อมรับประทานอื่นๆ เวลาที่คุณไปช็อปปิ้ง เตรียมอาหาร หรือเก็บอาหาร ให้เก็บเนื้อสัตว์ดิบ สัตว์ปีก ปลา และอาหารทะเลมีเปลือกห่างไกลจากอาหารสุกอื่นๆ เพื่อป้องกันการถ่ายเทของการปนเปื้อน
  • ปรุงอาหารที่อุณหภูมิที่ปลอดภัย วิธีที่ดีที่สุดในการตรวจเช็คว่าอาหารที่ปรุงนั้นอยู่ในอุณหภูมิที่ปลอดภัยหรือไม่ คือ การใช้เทอร์โมมิเตอร์สำหรับวัดอุณหภูมิในอาหาร คุณสามารถฆ่าเชื้อโรคในอาหารส่วนใหญ่ถ้าปรุงในอุณหภูมิที่ถูกต้อง

 

 

  • นำอาหารที่เสียง่ายแช่ตู้เย็นหรือช่องแช่แข็งทันที ภายในสองชั่วโมงหลังจากซื้ออาหารหรือเตรียมอาหาร ถ้าอุณหภูมิห้องสูงกว่า 90 F (32.2 เซลเซียส) ให้นำอาหารเข้าตู้เย็นภายในหนึ่งชั่วโมง
  • ทำละลายอาหารอย่างปลอดภัย อย่าละลายอาหารด้วยอุณหภูมิห้อง วิธีที่ปลอดภัยที่สุดในการทำละลายอาหารแช่แข็งคือในตู้เย็น ถ้าคุณไมโครเวฟอาหารแช่แข้งโดยใช้ปุ่ม “Defrost” หรือ “ใช้แรงไฟ 50%” คุณต้องปรุงอาหารทันทีหลังจากละลายเสร็จ
  • ถ้าไม่แน่ใจทิ้งไว้ก่อน หากคุณไม่แน่ใจว่าอาหารนั้นมีการเตรียม การเสิร์ฟ และเก็บรักษาปลอดภัยหรือไม่ อย่าลังเลที่จะทิ้งมัน อาหารที่ถูกทิ้งในอุณหภูมิห้องนานเกินไปอาจปนเปื้อนด้วยแบคทีเรียหรือสารพิษตกค้างที่รอดจากการปรุงอาหาร อย่าลองชิมอาหารถ้ายังไม่แน่ใจ ทิ้งมันไปได้เลย ถึงแม้ว่ากลิ่นมันอาจจะยังดีอยู่ แต่มันอาจจะไม่ปลอดภัยถ้าเรากินเข้าไป

 

Credit by โค้ชเจเจ - โค้ชจักรยานระดับมืออาชีพ ผู้คร่ำหวอดในวงการจักรยานมากว่า 35 ปี 
https://www.jjprocycling.com/th/2019/08/01/food-poisoning-prevention-for-your-race/

หากมีเคล็ดลับอยากแนะนำเชพเคน ส่งข้อมูลมาแบ่งปันให้เชฟเคนบ้างนะพี่น้อง ส่งเคล็ดลับของคุณ

cpbrandsite.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน เรียนรู้เพิ่มเติม

;